วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบแบบอัตนัย มีจำนวน 5 ข้อ

1.จงอธิบายความหมายของระบบเครือข่าย พอเข้าใจ (2คะแนน)
- คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สวิตช์ เร้าเตอร์ เครื่องพิมพ์ มาเชื่อมโยงให้เป็นระบบเครือข่าย โดยมีตัวกลางในการนำพาสัญญาณ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้


2.จงบอกถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการนำคอมพิวเตอร์ต่างๆมาเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย (2คะแนน)
- 1.ใช้ทรัพยากรร่วมกัน คือ การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การแชร์เครื่องพิมพ์ ทำให้ทุกคนสามารถใช้
เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้
-2.ใช้ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
-3.ติดต่อสื่อสารภายในระบบเครือข่าย


3.จงบอกถึงสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเป็นระบบเครือข่าย และอธิบายด้วยว่าส่วนประกอบนั้นๆ มีความสำคัญอย่างไร (2คะแนน)

- ฮับ (HUB)
ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย? เรียกว่าฮับตกกระป๋องไปแล้วครับ แต่ยังไง ก็เรียนรู้ไว้สักนิดก็ไม่ผิดกฏกติกาแต่อย่างไร เดี๋ยวจะหาว่าไม่รู้จริง

- สวิตช์ (Switch)
จะมีความสามารถในการทำงานมากกว่า Hub โดยที่อุปกรณ์ Switch จะทำงาน
ในการ รับ-ส่งข้อมูล ที่สามารถส่งข้อมูลจากพอร์ตหนึ่งของอุปกรณ์ ไปยังเฉพาะพอร์ตปลายทางที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการส่งข้อมูลไปหาเท่านั้น ซึ่งจากหลักการทำงานในลักษณะนี้ ทำให้พอร์ตที่เหลือ
ของอุปกรณ์ Switch ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-ส่งข้อมูลนั้น สามารถทำการ รับ-ส่งข้อมูลกันได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทำให้ในปัจจุบันอุปกรณ์ Switch จึงได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานในระบบเครือข่ายมากกว่า ฮับ (Hub)

- สาย UTP ไม่มีสายนี้ก็ไม่สามารถสร้างเครื่อข่ายได้


4. องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง จงบอกเป็นข้อๆ พร้อมอธิบาย (2คะแนน)
-1. ข้อมูล ข้อความ ภาพ วีดีโอ หรือสื่อประสม
-2. ผู้ส่ง อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์
-3. ผู้รับ อุปกรณ์สำหรับรับข้อมูล ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์
-4. สื่อกลาง แบบมีสาย เช่น สายเคเบิ้ล สายไฟเบอร์ออปติก แบบไร้สาย เช่น Wireless ในอากาศจะมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุ ทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ เหมือนโทรศัพท์มือถือ
-5. โปรโตคอล คือ กฎเกณฑ์ที่ตกลงกัน ทำให้ทั้งสองฝ่ายติดต่อสื่อสารกันรู้ เรื่อง เหมือนภาษาที่ใช้คุยกัน


5. จงบอกถึงข้อดีข้อเสียของการเชื่อมต่อ LAN แบบ BUS แบบ RING และแบบ STAR โดยแยกแต่ละแบบ (2คะแนน)

- เครือข่ายแบบ LAN

ข้อดี
เป็นระบบเครือข่ายที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย สามารถติดตั้งได้ง่าย มีความเร็วของการรับส่งข้อมูลสูง อีกทั้งมีต้นทุนในการติดตั้งต่ำ

ข้อเสีย
1. มีสัญญาณรบกวนสูง
2. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
3. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้ มีปัญหา ในการ ใช้งาน ร่วมกัน


- เครือข่ายแบบ BUS

ข้อดี
1.เป็นระบบที่ง่ายไม่ซับซ้อน
2.ประหยัดสายสัญญาณเพราะใช้แค่เส้นเดียว

ข้อเสีย
1.ติดตามข้อผิดพลาดได้ยาก
2.ควบคุมการทำงานได้ยาก
3. ถ้าสายส่งสัญญาณหลักเสียหาย ระบบเครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้

-เครือข่ายแบบ STAR

ข้อดี
1. สะดวก ง่ายต่อการตรวจสอบการทำงานของระบบโดยรวม
2. หากเครื่องคอมพิวเตอร์สถานีงานหนึ่งเสีย เครื่องอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ตามปกติ
3. มีความเป็นระเบียบ

ข้อเสีย
1. อัตราเร็วในการส่งข้อมูลช้า ( 4 Mbps)
2. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของสายสัญญาณ
3. การขยายระบบจะขึ้นอยู่กับจุดควบคุมส่วนกลาง
4. ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เซริ์ฟเวอร์เสีย เครือข่ายจะไม่สามารถทำงานได้

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

วิชาความปลอดภัยโครงข่าย


แบบฝึกหัดที่ 2

1. OSI Model ย่อมาจาก
OSI Reference Model (OSI : Open Systems Interconnection)

2. มาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้ในการอ้างอิงเพื่อให้มองภาพของการสื่อสารข้อมูลเป็นหน่วยย่อย ๆ เพื่อง่ายในการทำความเข้าใจในแต่ละส่วน และสะดวกต่อการพัฒนาโปรแกรมหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทางด้านเน็ตเวิร์ก มี กี่ชั้น
มีทั้งหมด 7 ชั้น

3. Application Layer เป็นการสื่อสารในระดับแอปพลิเคชั่น เช่น
เบราเซอร์ โปรแกรมอีเมลไคลเอนต์ และโปรแกรม Telnet ทำหน้าที่เป็น User Interface ด้วยโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในชั้นนี้ เช่น Telnet , FTP, SMTP,HTTP และ DNS

4. Presentation Layer เป็นโปรโตคอลควบคุมเกี่ยวกับรูปแบบของข้อมูลที่จะถูกนำเสนอเช่น
รูปแบบรหัส ASCII และ JPEG

5. Session Layer ทำหน้าที่จัดการข้อมูลในระดับเซสซัน เช่น
เซสซันของ SQL Server เพื่อจัดเตรียมข้อมูลส่งต่อให้กับ Layer 6

6. สาย UTP ที่ใช้กับระบบแลนทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วย
สาย UTP จะมีสายสัญญาณอยู่จำนวน 4 คู่ 8 เส้น ประกอบด้วย
- เขียว - ขาวเขียว
- ส้ม - ขาวส้ม
- น้ำเงิน - ขาวน้ำเงิน
- น้ำตาล - ขาวน้ำตาล

7. อธิบายความหมายของศัพท์ต่อไปนี้
7.1. สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในรูปของแสง โครงสร้างภายในจะเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง แสงที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะไม่สะท้อนออกมาข้างนอก แต่จะสะท้อนไปมาภายในตลอดแนวความยาว ซึ่งใช้หลักการของดัชนีการหักเหของแสง
7.2. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มความแรงของสัญญาณ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มาก แต่การเพิ่มความแรงของสัญญาณนั้น
7.3. สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ทำงานเหมือนกับบริดจ์ เพียงแต่มีพอร์ตมากกว่า ซึ่งจำนวนพอร์ตจะมากพอ ๆ กับฮับ สวิตช์จะมีหน้าตาคล้ายกับฮับมาก แต่การทำงานจะแตกต่างกัน สวิตช์จะเลือกส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่ายสูงขึ้นมาก
7.4. เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งโดยส่วนมากมักจะใช้เร้าเตอร์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแลนภายในองค์กรกับอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมระหว่างศูนย์กลางกับสาขา

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Linux XP Dektop Edition



คราวนี้เอาวิธีติดตั้งลีนุกซ์หน้าตาดีๆ มาฝากกัน โดยมีการตั้งชื่อได้โดนใจเหลือเกิน แต่ไม่ใช่แค่ชื่อเท่านั้นนะข้างในก็มีการออกแบบให้ใช้งานกันได้เหมือนมาก แล้วถ้าคิดว่าลีนุกซ์ตัวนี้เป็นผลงานจากยุโรปหรืออเมริกาแล้วละก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย เพราะมันเป็นผลงานจากรัสเซียที่พัฒนามาระยะหนึ่งแล้วก่อนจะทำภาคอังกฤษออกมาให้เห็นกัน



1.เริ่มจากการใส่แผ่นแล้วก็บูตเครื่องกันเลย จะได้หน้าจอนี้ไม่ต้องคิดอะไรมากกด Enter ผ่านไปได้เลย





2.ผ่านมาถึงหน้าจอนี้ก็แสดงว่าฮาร์ดแวร์ของคุณไม่มีปัญหาค่อนข้างจะแน่นอนแล้ว อ่านคำต้อนรับซะหน่อยก็จะดีแต่ถ้าไม่ต้องการก็เลือก Next แล้วไปต่อกันเลย





3.มาถึงเรื่องของฮาร์ดดิสก์กันแล้วว่าจะแบ่งแบบไหนลงแบบไหน สำหรับมือใหม่ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็เลือกกันแบบสำเร็จรูปไปเลยดีกว่าจะได้ไม่ต้องปวดหัว แต่ขอเป็นเครื่องที่พร้อมจะทดสอบนะ เครื่องทำงานจริงต้องขอบอกว่าเก็บสำรองข้อมูลดีๆ ก็แล้วกัน นี่การลงระบบนะไม่ใช่ลงแอพพลิเคชัน





4.เลือกได้แล้วก็ต้องมาดูกันต่อ หากฮาร์ดดิสก์ของคุณใหญ่และมีที่ว่างการเลือกติดตั้งแบบในหน้าจอก็เหมาะสมดี เพราะมันจะติดตั้งลงบนพื้นที่ว่างเท่านั้น





5.หลังจากนั้นสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมเองได้นะ ว่าที่ระบบกำหนดให้นั้นอาจจะไม่ถูกใจ





6.ขั้นตอนของการเลือกบูตโหลดเดอร์ว่าจะให้ระบบไหนเป็นตัวเริ่มต้น ในกรณีที่มีระบบมากกว่าหนึ่งตัว อยากให้ใครขึ้นก่อนหลังก็เลือกเอาเลย





7.กำหนดค่าเริ่มต้นของระบบเน็ตเวิร์กต่างๆ ได้ตามใจชอบ





8.เลือกกำหนดวันเวลาว่าใช้งานอยู่ส่วนใดของโลก เลือกจากแผนที่โลกได้เลยไม่ต้องเกรงใจ





9.มาถึงเวลาของการกำหนดรหัสผ่านกันแล้วครับ ตั้งค่าดีๆ หละ อย่าให้ลืมกันเชียว





10.หน้าจอนี้ใครอยากได้อะไรก็เลือกกันตามใจชอบเลยครับ หรือจะเลือกแบบที่ระบบกำหนดให้มาเลยก็ไม่ว่ากัน





11.ระหว่างที่กำลังติดตั้ง ถ้าไม่อยากอ่านว่าลีนุกซ์ตัวนี้มีดีตรงไหนบ้าง ก็เดินไปชงกาแฟดื่มได้เลย





12.รองรับงานเอกสารสำนักงานทุกประเภทด้วย OpenOffice 2.0





13.กาแฟหมดไปสามถ้วยก็ลงเสร็จพอดียินดีด้วย





14.ดูหน้าจอทำงานซิ มันน่าใช้ขนาดไหน สวยมากๆ





15.ดูส่วนของการกำหนดค่าต่างๆ ก็ทำการปรับแต่งมาให้ใช้แบบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมาก





16.ติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ตแบบง่ายๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะลงไม่ได้

วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์ระบบเครือข่ายดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ละอย่างก็จะทำงานต่างหน้าที่กัน ผู้ดูแลระบบจะต้องรู้หน้าที่และกลไกการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่าง ๆ เป็นอย่างดี จึงจะสามารถออกแบบ ติดตั้ง ปรับค่าคอนฟิก และดูแลรักษาระบบเครือข่ายได้



การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card)


ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า “การ์ดแลน” นั้นมีหน้าที่ในการที่จะนำเฟรมข้อมูล (เป็นก้อนข้อมูลที่จัดอยู่ใน Layer 2 ของ OSI Reference Model ที่จะได้ศึกษาต่อไป) ส่งลำเลียงไปตามสายนำส่งสัญญาณ ซึ่งมันจะแปลงเฟรมข้อมูลให้เป็นข้อมูลระดับบิต (bit) เสียก่อน โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้การ์ดเน็ตเวิร์กแบบ Ethernet ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่ง 10 เมกะบิตต่อวินาที และใช้ Fast Ethernet ที่มีความเร็วในการรับส่งสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งปัจจุบันการ์ดเน็ตเวิร์กที่เป็นที่นิยมจะต้องทำการรับส่งได้ทั้งสองความเร็วคือ 10 และ 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งใช้สัญลักษณ์ 10/100 Mbps และมักจะต่อเชื่อมกับสายสัญญาณชนิด UTP ทางช่อง RJ-45 การ์ดเน็ตเวิร์กของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางและเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งข้อมูลหากันโดยการอ้างถึงหมายเลขประจำการ์ดเน็ตเวิร์ก ซึ่งเรียกว่า MAC Address ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหกจำนวน 12 ตัว (6 ไบต์)














สายสัญญาณ (Cable)


สายสัญญาณมีหน้าที่ลำเลียงข้อมูลดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สายสัญญาณมีหลายชนิด ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน


สาย TP (Twisted Pair)

เป็นสายคู่ตีเกลียวบิดไขว้กันไปตลอดแนวความยาว เพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่มีชีลห่อหุ้ม ซึ่งเรียกว่า STP (Shield Twisted Pair) และแบบที่ไม่มีชีลห่อหุ้มซึ่งเรียกว่า UTP (Unshield Twisted Pair) ปัจจุบันนิยมใช้สาย UTP เนื่องจากมีราคาถูกสาย UTP มักจะต่อเชื่อมกับการ์ดเน็ตเวิร์กด้วยแจ๊คแบบ RJ-45
สาย UTP ที่ใช้กับระบบแลนทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วยสายไฟฟ้าข้างใน 8 เส้น ถ้าปลายทั้งสองข้างเรียงสีเหมือนกันจะเรียกว่า “สายตรง” แต่ถ้าปลายทั้งสองข้างเรียงสีไม่เหมือนกัน โดยมีการสลับตำแหน่งกัน 2 คู่ คือ 1 สลับกับ 3 ส่วน 2 สลับกับ 6 จะเรียกว่า “สายไขว้” สายตรงมีไว้เพื่อเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับฮับ/สวิตช์ หรือต่อระหว่างฮับ/สวิตช์กับฮับ/สวิตช์ด้วยกันเองโดยที่ฮับ/สวิตช์ตัวใดตัวหนึ่งต้องต่อที่ช่อง Up-Link ส่วนสายไขว้มีไว้ต่อเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือฮับ / สวิตช์กับฮับ / สวิตช์ด้วยกันเองโดยที่ไม่ใช้ช่อง Up-Link เลย







สายโคแอคเชียล (Coaxial)

เป็นสายที่มีลักษณะคล้ายกับสายที่ต่อระหว่างเครื่องรับโทรทัศน์กับเสาอากาศ ซึ่งโครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแกนทองแดงตรงกลางและมีฉนวนหุ้มท ถัดออกมาข้างนอกก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ทำเป็นลักษณะทรงกระบอกหุ้มห่อไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อจะป้องกันสนามไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด และรอบนอกก็จะหุ้มด้วยฉนวนอีกครั้งหนึ่ง ในอดีตนิยมนำมาต่อกับแลนที่มีการเชื่อมต่อแบบบัสและแบบวงแหวน ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว







สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)


เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในรูปของแสง โครงสร้างภายในจะเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง แสงที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะไม่สะท้อนออกมาข้างนอก แต่จะสะท้อนไปมาภายในตลอดแนวความยาว ซึ่งใช้หลักการของดัชนีการหักเหของแสง สายไฟเบอร์ออปติกจะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที และจะไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากภายนอกแต่ข้อเสียของมันก็คือมีราคาแพง









รีพีตเตอร์ (Repeater)

เมื่อคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าไปตามสายที่มีความยาวมาก จะทำให้ความแรงของสัญญาณไฟฟ้าที่ปลายสายค่อย ๆ ลดน้อยลงไปตามระยะทางที่ยาวขึ้น เมื่อต้องการติดตั้งระบบแลนที่กินพื้นที่ค่อนข้างกว้าง จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความแรงของสัญญาณดังกล่าว เพื่อที่ต้นทางจะได้ส่งข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ รีพีตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มความแรงของสัญญาณ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มาก แต่การเพิ่มความแรงของสัญญาณนั้น จะทำให้สัญญาณรบกวน (noise) ถูกเพิ่มความแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้มีข้อจำกัดว่าควรที่จะใช้รีพีตเตอร์ได้ไม่เกินกี่จุดในแนวความยาวนั้น เช่น อีเทอร์เน็ตไม่ควรต่อรีพีตเตอร์เกิน 4 จุด เป็นต้น






ฮับ (Hub)

เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นได้บ่อย เนื่องจากฮับใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) โดยใช้สาย UTP ต่อเชื่อมระหว่างการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับฮับ โดยเชื่อมต่อทางช่องเสียบ RJ-45 ซึ่งการต่อระบบแลนลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดปัจจุบัน ฮับจะมีช่องเสียบ RJ-45 ตัวเมียอยู่หลายช่อง เพื่อใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถ้ายิ่งมีช่องเสียบมากก็จะยิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้มาก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย การทำงานของฮับนั้นก็คล้าย ๆ กับรีพีตเตอร์ คือมันจะทำซ้ำและเพิ่มความแรงของสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งออกไปยังพอร์ต (ช่องเสียบ) ที่เหลือ แต่จะต่างกันตรงที่ฮับมีพอร์ตมากกว่ารีพีตเตอร์ ข้อดีของฮับคือมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือเรื่องการชนกัน (Collision) ของข้อมูล (เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับฮับจะอยู่ในคอลลิชันโดเมนเดียวกัน) ถ้ายิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลสูง ซึ่งทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบช้าลง

บริดจ์ (Bridge)

สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการชนกันของข้อมูลที่เกิดจากการใช้ฮับ โดยบริดจ์จะสามารถแบ่งคอลลิชันโดเมนให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ในแต่ละคอลลิชันโดเมนเหลือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลได้น้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันบริดจ์ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกันแต่ดีกว่า ซึ่งก็คือสวิตช์


สวิตช์ (Switch)

สวิตช์ทำงานเหมือนกับบริดจ์ เพียงแต่มีพอร์ตมากกว่า ซึ่งจำนวนพอร์ตจะมากพอ ๆ กับฮับ สวิตช์จะมีหน้าตาคล้ายกับฮับมาก แต่การทำงานจะแตกต่างกัน สวิตช์จะเลือกส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่ายสูงขึ้นมาก และเนื่องจากในปัจจุบันราคาของสิวตช์ถูกลงมาก จึงมีหลายหน่วยงานที่นำสวิตช์ไปใช้แทนฮับเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่าย และนอกจากนั้นสวิตช์ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความปลอดภัยจากการแอบดักจับข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป








เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งโดยส่วนมากมักจะใช้เร้าเตอร์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแลนภายในองค์กรกับอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมระหว่างศูนย์กลางกับสาขา เป็นต้น



สวิตช์เลเยอร์สาม (Layer 3 Switch)

สวิตช์เลเยอร์สามเป็นสวิตช์ที่สามารถทำงานเป็นเร้าเตอร์ได้ในตัว ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะใช้เลือกเส้นทางระหว่างเน็ตเวิร์กภายในแลน สวิตช์เลเยอร์สามมีความเร็วในการเร้าต์แพ็กเก็ต (Packet) ข้อมูลได้สูงกว่าเร้าเตอร์เนื่องจากมันทำงานในระดับฮาร์ดแวร์ โดยทั่ว ๆ ไป มักจะนำสิวตช์เลเยอร์สามมาใช้กับการทำเวอร์ชวลแลน (VLAN) เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยและลดจำนวนแพ็กเก็ตที่เกิดจากการบรอดคาสต์








ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (eBusiness หรือ e-Business) หมายถึง กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม โดยเทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่างๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) [1] หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้


ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทางไปซื้อสินค้า เพียงแค่เลือกซื้อผ่านเว็บไซต์เท่านั้น
- ประหยัดเวลาในการติดต่อ แค่ใช้เวลาไม่นานแค่เพียงไม่กี่วินาทีเราก็สามารถติดต่อซื้อสินค้าได้
- การเปิดร้านค้าในอินเตอร์เน็ตเป็นการขยายตลาดสู่ทั่วโลก ไม่จำกัดเฉพาะแค่ในประเทศ และยังทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการได้เลือกซื้อสินค้ามากยิ่งขึ้น

- ผู้ขายสามารถเปิดร้านได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด และผู้บริโภคก็สามารถซื้อสินค้าได้ทุกวัน


ข้อเสีย
- ผู้ซื้ออาจไม่แน่ใจว่าสั่งซื้อแล้วจะได้รับสินค้าจริง หรือได้รับสินค้าที่ไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือสินค้าชำรุดเสียหายหรือสูญหาย
-สินค้าอาจเป็นสินค้าที่ไม่ผ่านการทดสอบ หรือสินค้าไม่มีคุณภาพ
-เสี่ยงต่อการถูกฉ้อโกง หรือถูกโกงราคาหรือถูกหลอกลวงได้ง่าย
-ข้อมูลสินค้าบางอย่างอาจมีการโอ้อวดคุณภาพสินค้าเกินจริง โดยที่เราไม่สามารถตรวจสอบได้
-ในระบบกฎหมายของไทย ยังไม่มีการให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงเพียงพอ ความปลอดภัยในข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตจึงยังไม่ปลอดภัยพอ

แบบฝึกหัดที่ 1 หน่วยที่ 1 รู้จักกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบรูณ์

1. ลีนุกซ์คืออะไร
ตอบ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

2. ความเป็นมาของลีนุกซ์เป็นอย่างไร
ตอบ ในช่วงปี ค.ศ. 1987 ศาสตราจารย์ Andrew S.Tanenbaum ได้ออกแบบสร้าง ยูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนเครื่อง PC,Mac,Amiga โดยให้ชื่อว่า Minix และยังแจกซอร์สโค้ดฟรีให้แก่นักวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาต่อ
ประมาณปี ค.ศ. 1989 นักศึกษาภาควิชา Computer Science จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) ประเทศ ฟินแลนด์ชื่อ ลีนุส ทอร์วัลดล์ (Linus Benedict Torvalds :http://www.cs.helsinki.fi/~torvalds) ได้พัฒนาระบบยูนิกซ์ Minix เพื่อใช้ในการเรียนวิชาระบบปฏิบัติการ เนื่องจากเห็นว่า Minix ยังมีความสามารถไม่พอ จึงออกแบบเขียนโค้ดขี้นใหม่และอ้างอิงกับ Minix โดยมีการใส่ระบบสลับงาน (Task swap) ปรับปรุงไฟล์ มีการสนับสนุน Hardware มากขึ้น แล้วให้ชื่อระบบปฏิบัติการตัวนี้ว่า Linux
และต่อมาก็ได้เริ่มชักชวนให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ มาช่วยกันพัฒนาต่อโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต คือ ลีนุสจะเป็นคนรวบรวม ตรวจสอบ และแจกจ่ายงานให้กับโปรแกรมเมอร์จากที่ต่างๆทั่วโลก รวมทั้งแจกจ่ายให้ใครต่อใครที่สนใจช่วยทดลองใช้ และทดสอบหาข้อผิดพลาดด้วย
จุดที่น่าสนใจของงานนี้ก็คือ ทุกคนต่างทำงานให้ฟรี ด้วยความอยากเห็นผลงานสำเร็จออกมา โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แต่อย่างใด เพียงแต่มีเงื่อนไขว่างานที่เสร็จแล้ว ก็จะต้องเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยไม่คิดค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า GPL (General Public License) ที่ริเริ่มขึ้นจากองค์กรที่เรียกว่า Free

3. ประโยชน์ของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันลีนุกซ์ได้รับความนิยมและนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงาน ประโยชน์มีมากมาย
1.ยูนิกซ์เป็นต้นแบบของลีนุกซ์
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการเดิมที่มีประสิทธิภาพการทำงานมานาน ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์ทั้งเรื่องระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหลายงาน (MultiTasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (MultiUser) ประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ มีมากมาย จึงเป็นการถ่ายทอดมาที่ลีนุกซ์
2.ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า GNU Public License (GPL) ซึ่งหมายความว่า สามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี โดยใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนต้นแบบ
3.ความปลอดภัยในการทำงาน
ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและรหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน หรือที่เรียกว่า Log in ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้ ฯลฯ

4.โครงสร้างของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ลีนุกซ์ที่ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนา เป็นเพียงแค่ส่วนที่เรียกว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือ
แกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ เช่น 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วยจอภาพ คีย์บอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
เคอร์เนล (Kernel)
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้ลีนุกซ์ เคอร์เนลเชลล์โปรแกรมประยุกต์ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ

5.เคอร์เนล (Kernel) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย

6.เซลล์ (Shell) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้

7.ระบบวินโดวส์ (Window) บนลีนุกซ์มีอะไรบ้าง (ค้นหาเพิ่มเติมให้มากที่สุด)
ตอบ เป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรีและยังมีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายเวอร์ชั่นอีกด้วย

8.ระบบ X Window คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ระบบ X Window บนลีนุกซ์ มีความพิเศษกว่า Microsoft Windows ตรงที่มีรูปแบบของวินโดวส์ให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น GNOME หรือ KDE โดยแต่ละรูปแบบอาจจะแตกต่างกันในส่วนของเมนูการทำงาน รูปแบบของหน้าจอ หน้าต่างของโปรแกรม รูปแบบของปุ่ม หรือไอคอนต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับ Microsoft Windows ที่มีหน้าตาอยู่เพียงแบบเดียว ตัวอย่างโปรแกรมลีนุกซ์แต่ละแบบเช่น ลีนุกซ์ทะเล ลีนุกซ์อูบุนตู ลีนุกซ์ Redhat ลีนุกซ์ Cent OS และอื่น ๆ

9.ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของลีนุกซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ตอบ ตรวสสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีอุปกรณ์ฮาดร์แวร์ครบไหม นอกจากนี้ยังต้องการติดตั้งลีนุกซ์ สิ่งสำคัญคือรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง เลือกประเภทของการติดตั้ง และวิธีการติดตั้ง ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมมีดังนี้
ตรวจสอบข้อมูลฮาร์ดแวร์ของระบบ ในขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรมจะให้กำหนดรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ โดย
จะต้องกำนดค่าให้ถูกต้องตรงกับข้อมูลจริง เพื่อให้ลีนุกซ์ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด รายการของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จะต้องตรวจสอบรวมทั้งข้อมูลที่ควรเก็บรายละเอียดการเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์ตามแบบของลีนุกซ์ แสดงได้ดังนี้
1. /dev/hda หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Master
2. /dev/hdb หมายถึงฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Slave
3. /dev/hdc หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Master
4. /dev/hdd หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Slave

10.ลีนุกซ์แบบ Text Mode เป็นอย่างไร มีรุ่นใดบ้าง
ตอบ เป็นระบบปฎิบัติการที่ไม่กินสเปกเครื่องมากนัก นอกจากนี้ยังมีการทำงานต่างๆที่คล้ายกับคำสั่งของระบบ ปฎิบัติการ MS-Dos แต่คำสั่งของ นุกซ์แบบ Text Mode นั้น จะมีคำสั่งที่เฉพราะตัวยกตัวอย่าง
คำสั่ง ls : ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home directory