วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดที่ 1 หน่วยที่ 1 รู้จักกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบรูณ์

1. ลีนุกซ์คืออะไร
ตอบ ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

2. ความเป็นมาของลีนุกซ์เป็นอย่างไร
ตอบ ในช่วงปี ค.ศ. 1987 ศาสตราจารย์ Andrew S.Tanenbaum ได้ออกแบบสร้าง ยูนิกซ์สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถทำงานได้ทั้งบนเครื่อง PC,Mac,Amiga โดยให้ชื่อว่า Minix และยังแจกซอร์สโค้ดฟรีให้แก่นักวิจัยเพื่อนำไปพัฒนาต่อ
ประมาณปี ค.ศ. 1989 นักศึกษาภาควิชา Computer Science จากมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (University of Helsinki) ประเทศ ฟินแลนด์ชื่อ ลีนุส ทอร์วัลดล์ (Linus Benedict Torvalds :http://www.cs.helsinki.fi/~torvalds) ได้พัฒนาระบบยูนิกซ์ Minix เพื่อใช้ในการเรียนวิชาระบบปฏิบัติการ เนื่องจากเห็นว่า Minix ยังมีความสามารถไม่พอ จึงออกแบบเขียนโค้ดขี้นใหม่และอ้างอิงกับ Minix โดยมีการใส่ระบบสลับงาน (Task swap) ปรับปรุงไฟล์ มีการสนับสนุน Hardware มากขึ้น แล้วให้ชื่อระบบปฏิบัติการตัวนี้ว่า Linux
และต่อมาก็ได้เริ่มชักชวนให้โปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ มาช่วยกันพัฒนาต่อโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต คือ ลีนุสจะเป็นคนรวบรวม ตรวจสอบ และแจกจ่ายงานให้กับโปรแกรมเมอร์จากที่ต่างๆทั่วโลก รวมทั้งแจกจ่ายให้ใครต่อใครที่สนใจช่วยทดลองใช้ และทดสอบหาข้อผิดพลาดด้วย
จุดที่น่าสนใจของงานนี้ก็คือ ทุกคนต่างทำงานให้ฟรี ด้วยความอยากเห็นผลงานสำเร็จออกมา โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แต่อย่างใด เพียงแต่มีเงื่อนไขว่างานที่เสร็จแล้ว ก็จะต้องเผยแพร่แก่สาธารณะ โดยไม่คิดค่าตอบแทนเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า GPL (General Public License) ที่ริเริ่มขึ้นจากองค์กรที่เรียกว่า Free

3. ประโยชน์ของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ปัจจุบันลีนุกซ์ได้รับความนิยมและนำไปใช้งานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงาน ประโยชน์มีมากมาย
1.ยูนิกซ์เป็นต้นแบบของลีนุกซ์
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการเดิมที่มีประสิทธิภาพการทำงานมานาน ลีนุกซ์ถอดแบบมาจากยูนิกซ์ ดังนั้นคุณสมบัติของยูนิกซ์ทั้งเรื่องระบบความปลอดภัย ความสามารถในการทำงานพร้อมกันหลายงาน (MultiTasking) ใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (MultiUser) ประสิทธิภาพในการใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น ๆ มีมากมาย จึงเป็นการถ่ายทอดมาที่ลีนุกซ์
2.ลีนุกซ์และโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์จะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า GNU Public License (GPL) ซึ่งหมายความว่า สามารถนำลีนุกซ์มาใช้งานได้ฟรี โดยใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ปรับปรุงแก้ไขได้ตามต้องการ โดยซอร์สโค้ดที่ได้ทำการแก้ไขจะต้องเผยแพร่ให้ผู้อื่นใช้ได้ฟรีเหมือนต้นแบบ
3.ความปลอดภัยในการทำงาน
ลีนุกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยในการใช้งานสูง ก่อนที่จะเข้าใช้งานทุกครั้งจะมีการตรวจสอบโดยผู้ใช้ต้องทำการป้อนชื่อและรหัสผ่าน เพื่อแสดงสิทธิในการใช้งาน หรือที่เรียกว่า Log in ให้ถูกต้องจึงจะเข้าใช้งานลีนุกซ์ได้ ฯลฯ

4.โครงสร้างของลีนุกซ์มีอะไรบ้าง
ตอบ ลีนุกซ์ที่ไลนัสและนักพัฒนาร่วมกันพัฒนา เป็นเพียงแค่ส่วนที่เรียกว่า เคอร์เนล (Kernel) หรือ
แกนการทำงานหลักของระบบ แต่เคอร์เนลไม่สามารถทำงานตามลำพังได้ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ เช่น 1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ประกอบด้วยจอภาพ คีย์บอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
เคอร์เนล (Kernel)
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้ลีนุกซ์ เคอร์เนลเชลล์โปรแกรมประยุกต์ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ

5.เคอร์เนล (Kernel) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่สำคัญของระบบ เรียกว่า เป็นแกนหรือหัวใจของระบบก็ว่าได้ เคอร์เนลจะมีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ตั้งแต่การจัดสรรทรัพยากรของระบบบริหารโพรเซสงาน
(Process) การจัดการไฟล์และอุปกรณ์อินพุต เอาต์พุต บริหารหน่วยความจำ โดยเคอร์เนลจะควบคุมอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องทั้งหมด ดังนั้นเคอร์เนลจึงขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ ถ้าฮาร์ดแวร์เปลี่ยนไปเคอร์เนลก็จะเปลี่ยนไปด้วย

6.เซลล์ (Shell) คืออะไร
ตอบ เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล โดยรับคำสั่งจากผู้ใช้ทางอุปกรณ์อินพุต อย่างเช่น คีย์บอร์ด แล้วทำการแปลให้เป็นภาษาที่เครื่องเข้าใจ นอกจากนี้เซลล์ยังทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดทิศทางของอินพุตและเอาต์พุตได้ด้วยว่าจะให้เข้าหรือออกมาทางใด เช่น อาจจะกำหนดให้เอาต์พุตออกมาทางหน้าจอหรืจะเก็บลงไฟล์ก็ได้

7.ระบบวินโดวส์ (Window) บนลีนุกซ์มีอะไรบ้าง (ค้นหาเพิ่มเติมให้มากที่สุด)
ตอบ เป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรีและยังมีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายเวอร์ชั่นอีกด้วย

8.ระบบ X Window คืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ ระบบ X Window บนลีนุกซ์ มีความพิเศษกว่า Microsoft Windows ตรงที่มีรูปแบบของวินโดวส์ให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น GNOME หรือ KDE โดยแต่ละรูปแบบอาจจะแตกต่างกันในส่วนของเมนูการทำงาน รูปแบบของหน้าจอ หน้าต่างของโปรแกรม รูปแบบของปุ่ม หรือไอคอนต่าง ๆ ซึ่งไม่เหมือนกับ Microsoft Windows ที่มีหน้าตาอยู่เพียงแบบเดียว ตัวอย่างโปรแกรมลีนุกซ์แต่ละแบบเช่น ลีนุกซ์ทะเล ลีนุกซ์อูบุนตู ลีนุกซ์ Redhat ลีนุกซ์ Cent OS และอื่น ๆ

9.ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของลีนุกซ์ต้องเตรียมอะไรบ้าง
ตอบ ตรวสสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ว่ามีอุปกรณ์ฮาดร์แวร์ครบไหม นอกจากนี้ยังต้องการติดตั้งลีนุกซ์ สิ่งสำคัญคือรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้ง เลือกประเภทของการติดตั้ง และวิธีการติดตั้ง ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมมีดังนี้
ตรวจสอบข้อมูลฮาร์ดแวร์ของระบบ ในขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรมจะให้กำหนดรายละเอียดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ โดย
จะต้องกำนดค่าให้ถูกต้องตรงกับข้อมูลจริง เพื่อให้ลีนุกซ์ทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพสูงสุด รายการของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่จะต้องตรวจสอบรวมทั้งข้อมูลที่ควรเก็บรายละเอียดการเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์ตามแบบของลีนุกซ์ แสดงได้ดังนี้
1. /dev/hda หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Master
2. /dev/hdb หมายถึงฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Primary ตั้งค่าเป็น Slave
3. /dev/hdc หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Master
4. /dev/hdd หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อแบบ IDE ที่ช่อง Secondary ตั้งค่าเป็น Slave

10.ลีนุกซ์แบบ Text Mode เป็นอย่างไร มีรุ่นใดบ้าง
ตอบ เป็นระบบปฎิบัติการที่ไม่กินสเปกเครื่องมากนัก นอกจากนี้ยังมีการทำงานต่างๆที่คล้ายกับคำสั่งของระบบ ปฎิบัติการ MS-Dos แต่คำสั่งของ นุกซ์แบบ Text Mode นั้น จะมีคำสั่งที่เฉพราะตัวยกตัวอย่าง
คำสั่ง ls : ใช้แสดงรายชื่อแฟ้มทั้งหมดใน home directory

1 ความคิดเห็น:

  1. วิชาพื้นฐานลีนุกซ์
    วิชาความปลอดภัยโครงข่าย
    วิชาพื้นฐานการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    ตรวจงานแล้ว ครูอำภา

    ตอบลบ